วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

008..เดินทางจากลำปางไปวัดเฉลิมพระเกียรติ อำเภอแจ้ห่ม

 จากโรงแรมที่พัก เติมพลังมื้อเช้าด้วยโจกใส่ไข่  กาแฟ ปลาท่องโก๋ ข้างโรงแรมเขลางค์
 ออกเดินทางผ่านสะพานเก่าแก่แห่งเมืองลำปาง สพานรัฐฎา

สะพานรัษฎาภิเศก  หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ในเขตตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง  เดิมเป็นสะพานไม้ ที่ทางเจ้าผู้ครองนครลำปาง และชาวจังหวัดลำปางได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฯ ในวาระที่รัชกาล.5 ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437 หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมี.ค. 2460 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก บริเวณสะพานมีเครื่องหมายไก่ขาว และครุฑหลวงประดับไว้ตรงหัวสะพาน
 ผ่านสุสานไตรรักษ์ มีประวัติหลวงพ่อเกษมมาฝากนิดหนึ่งครับ
สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์ (ประตูม้า)
ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง 

หลวงพ่อเกษม เขมโก มีนามเดิมว่า เกษม มณีอรุณ เกิดเมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ตรงกับวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๕ (ร.ศ. ๑๓๑, จ.ศ. ๑๒๗๔, ค.ศ. ๑๙๑๒) ณ บ้านท่าเก๊าม่วง ริมแม่น้ำวัง ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นบุตรชายคนหัวปีคนเดียวของ เจ้าน้อยหนู มณีอรุณ และเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และมีน้องสาวเสียชีวิตตั้งแต่เล็กๆ บิดารับราชการเป็นปลัดอำเภอ ชาติตระกูลทั้งบิดาและมารดามาจากตระกูล ณ ลำปาง เป็นหลานเจ้าพ่อบุญวาทย์ วงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
ท่านเป็นคนร่างสันทัด ผิวขาว แข็งแกร่ง บุคลิกลักษณะดีมาแต่กำเนิด ว่องไว และสติปัญญาเฉลียวฉลาด นุ่มนวล แสดงออกซึ่งลักษณะของการประนีประนอม แม้จะซุกซนก็เป็นธรรมดาของวัยเด็ก ไม่มีการแสดงออกซึ่งความแข็งกร้าว ไม่ยอมทำสิ่งที่ผิด
เจ้าเกษม ณ ลำปาง (หลวงพ่อเกษม) จบการศึกษาชั้นประถม ๕ การศึกษาสามัญ ณ โรงเรียนบุญทวงศ์อนุกูล อันเป็นขั้นสูงสุดของโรงเรียนในสมัยนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ขณะนั้นอายุได้ ๑๑ ปี
ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ อายุได้ ๑๓ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นครั้งแรก ณ วัดป่าดั๊วะ โดยการบวชหน้าไฟ ๗ วัน ต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้ง ณ วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง 
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ขณะนั้นสามเณรเกษม อายุได้ ๒๐ ปี ก็สามารถเรียนนักธรรมสอบได้ชั้นโท มีความแตกฉานในด้านบาลีมาก
พ.ศ. ๒๔๗๖ อายุได้ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดบุญยืน จังหวัดลำปาง โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณธรรมจินดานายก (ฝาย) เจ้าคณะจังหวัดลำปาง (ในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์,  ท่านพระครูอุตตรวงศ์ธาดา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระธรรมจินดานายก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “เขมโก” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีธรรมอันเกษม” 


 ภาพเก่าเมื่อไปร่วมงานกฐินพระราชทานเมื่อ 13/11/2513

เมื่อบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว ท่านก็ยังศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ในระยะแรกๆ โดยได้เข้าเรียนภาษาบาลีและปริยัติธรรมจากสำนักวัดศรีล้อม วัดบุญวาทย์วิหาร วัดเชตวัน และวัดเชียงราย ในจังหวัดลำปาง ซึ่งมีครูสอน อาทิ ท่านเจ้าคุณพระเทพวิสุทธิโสภณ (อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง), พระมหาตาคำ, พระมหามงคล บุญเฉลิม, มหามั่ว พรหมวงศ์, มหาปราโมทย์ (นาม) นวลนุช, พระมหาโกวิท โกวิทยากร 
การศึกษาพระปริยัติธรรม ท่านสอบได้นักธรรมเอกในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ขณะนั้นอายุได้ ๒๔ ปี และเรียนภาษาบาลีที่สำนักวัดบุญวาทย์วิหาร สามารถแปลพระธรรมบทได้ ๘ ภาค เรียนพระปาติโมกข์ สวดพระปาติโมกข์ ในอุโบสถวัดบุญวาทย์วิหารหลายปี ถึงเวลาสอบเปรียญ ๓ ท่านไม่ยอมสอบทั้งๆ ที่มีความสามารถและมีความสนใจศึกษา   
ต่อมา เจ้าอธิการเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน ถึงแก่มรณภาพ ทางคณะศรัทธาญาติโยมจึงได้นิมนต์หลวงพ่อเกษมให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านเกิดเบื่อหน่ายและได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาส เพื่อออกเดินธุดงค์ เนื่องจากท่านชอบความวิเวก โดยท่านกล่าวมีความตอนหนึ่งว่า “...ทุกอย่างเราสอนดีแล้ว อย่าได้คิดไปตามเรา เพราะเราสละแล้ว การเป็นเจ้าอาวาสเปรียบเหมือนหัวหน้าครอบครัวต้องรับผิดชอบภาระหลายอย่าง ไม่เหมาะสมกับเรา เราต้องการความวิเวก ไม่ขอกลับมาอีก...”  
ทั้งนี้ ท่านจึงไปอาศัยอยู่ที่ป่าช้าศาลาวังทาน จากนั้นจึงย้ายเข้าไปอยู่ในป่าช้าแม่อาง บำเพ็ญภาวนาธรรม ซึ่งท่านได้รับอุบายธรรมมาจาก หลวงพ่อครูบาแก่น (อุบล สุมโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง จังหวัดลำปาง ถือได้ว่าเป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐานองค์แรก
การปฏิบัติท่านมีปฏิปทาเช่นเดียวกันกับ พระป่า ที่เที่ยววิเวกไปในทุกแห่งหนนั้นเอง อาศัยป่าที่สงบจากผู้คน โดยอาศัยเฉพาะป่าช้าในเขตจังหวัดลำปาง หลวงพ่อเกษม ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ทุกคนไม่เข้าใจในปฏิปทาของท่าน จะพากันสงสัยว่า การปฏิบัติที่ตึงเปรี๊ยะ คือ การนั่งภาวนากลางแดดร้อนระอุบ้าง นั่งทั้งวันทั้งคืนโดยไม่ไหวกายเลยบ้าง อดอาหารเป็นเวลานานถึง ๔๙ วันบ้าง มิหนำซ้ำท่านยังไม่ติดรสในอาหารอีกด้วย
ปกติหลวงพ่อเกษม ท่านจะพูดน้อย คือพูดค่อยๆ เชิงกระซิบ โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าต้องพูดกับคนทุกคนแล้ว ท่านคงไม่มีเวลาปฏิบัติธรรมแน่ๆ
ท่านมีคุณธรรมวิเศษอีกข้อหนึ่ง อันได้แก่ เป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์และมีเมตตาสูง โดยไม่เลือกชั้นวรรณะของสาธุชนผู้เดินทางไปถึงสำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์ (ประตูม้า) จังหวัดลำปาง นับได้ว่าท่านเป็นพระสุปฏิปันโนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่งในภาคเหนือ
หลวงพ่อเกษม ท่านได้แสดงสัจธรรมให้พวกเราได้ประจักษ์ ถึงความเป็นอนัตตา เป็นความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร มี เกิด มีแก่ มีเจ็บ และมีตาย ท่านได้ละสังขารจากพวกเราไปแล้ว ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลศูนย์ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ เวลา ๑๙.๔๐ น. ซึ่งตรงกับวันแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๒ สิริอายุรวม ๘๔ พรรษา ๖๓ ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่ศานุศิษย์ทั่วประเทศ
 ตามเส้นทางต้องผ่านโรงงานปูนวันนี้คงเป็นวันหยุดไม่ได้สวนรถสิบล้อ ถนนดีมากครับวิ่งรถสบายๆ
 ทางเข้าโรงงานปูนซีเมนต์
เมื่อเข้าเขตหมู่บ้านของอำเภอแจ้ห่มก็มองเห็นวิวอ่างเก็บน้ำที่เกิดจากเขื่อนกิ่วลม แต่น้ำยังน้อย

 แวะจอดรถที่จุชมวิวบ้านสา

เจ้าลูกชายของหมอแสงวันนี้ต้องวนกลับเชียงราย
ถือโอกาสปรับกล้องแบบต่างๆฝึกการใช้กล้องให้ดียิ่งขึ้น




ไปหละขอเดินทางต่อไปวัดเฉิมพระเกียรติดีกว่า
ผ่านที่ว่าการอำเภอแจ้ห่มมาเล็กน้อยมีทางแยกขวามือมีป้ายบอกเข้าวัดเฉลิมพระเกียรติ
จากทางแยกไปอีกประมาณหนึ่งกิโลเมตรมีทางแยกขวาอีกครั้งขึ้นสู่วัดเฉลิมพระเกียรติมีป้ายบอกชัดเจน
ทางขึ้นเขาไปเรื่อยๆ
ขึ้นเขาไปเรื่อยตามป้ายบอกจนมาถึงแยกสุดท้ายมีป้ายโดเด่นว่าขวาไปวัด ซ้ายไปอุทยานใช้โฟร์วิล
ไม่ต้องกลัวหลงมีป้ายตลอด
ตามป้ายยังเช้าเราแวะเข้าวัดทางขวามือก่อนครับ
ถึงวัดแล้วจอดรถเดินไหว้พระถ่ายรูปเข้าห้องน้ำตามสบาย
ใบอะไรเป็นรูปหัวใจด้วยสิครับอยู่ข้างทางเข้าวิหารวัด


วิหารวัด ด้านหลังมีพระธาตุ

กราบพระก่อนผ่านไปไหว้พระาตุ


พระธาตุสวยงามมีบริเวณชั้นล่างมีซุ้มพระสี่ทิศหันหลังชนกัน




ไหว้พระทุกมุมแล้วออกมาลานชมวิวสวยงามมองเห็นเมืองแจ้ห่มด้านล่าง



มองย้านจากลานชมวิวมาถ่ายภาพพระธาตุสะท้อนแสงพระอาทิตย์งามยิ่งนัก









เล่นกล้องกันสองเฒ่า


รังมอแดงไกล้ลานชมวิว





กลับออกมาลานวัดเสวนากับท่านเจ้าอาวาส แนะนำให้ไปชมอุทยานโดยรถของวัด

ถ่ายภาพกันก่อนรอรถและผู้โดยสารมาเพิ่มเพื่อแบ่งเบาค่าโดยสาร


น้องหมาของเจ้าอาวาสกินอิ่มจนอ้วน

ต้นไม้สวยๆมีมากมายรอบวัด

หอธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น